เมนู

จิตดวงที่ 11


[330] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?
อกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา มีรูปเป็นอารมณ์
หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็น
อารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ผัสสะ
เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา วิริยินทรีย์
มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกปะ มิจฉาวายามะ วิริยพละ
อหิริกพละ อโนตตัปพละ วิจิกิจฉา โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ ปัคคาหะ
อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ใน
สมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.
[331] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้องในสมัยนั้น
อันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะมีในสมัยนั้น ฯลฯ
เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เอกัคคตามีใน
สมัยนั้น ฯลฯ
วิจิกิจฉา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ความเคลือบแคลง ความคิดเห็น
ไปต่าง ๆ นานา ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสองแง่ ความเห็น
เหมือนทางสองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถจะถือเอาโดยส่วนเดียวได้

ความคิดส่ายไป ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถจะหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้
ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิจิกิจฉา
มีในสมัยนั้น ฯลฯ
หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ
[332] ก็ขันธ์ 4 อายตนะ 2 ธาตุ 2 อาหาร 3 อินทรีย์ 4 ฌาน
มีองค์ 4 มรรคมีองค์ 2 พละ 3 เหตุ 1 ผัสสะ 1 ฯลฯ ธรรมายตนะ 1
ธรรมธาตุ 1 หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ
[333] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา วิริยินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ วิริยพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ วิจิกิจฉา
โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ ปัคคาหะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้
อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

จิตดวงที่ 12


[334] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?
อกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ มีรูปเป็นอารมณ์
หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็น